กฎหมายคอมพิวเตอร์ "กฎหมายไอที" รู้ไว้ห่างไกลคุก!



"กฎหมายไอที"
รู้ไว้ห่างไกลคุก!

ปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารทนเทศ (ไอที) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการค้า การศึกษา การติดต่อสื่อสารประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมหาศาล แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษอนันต์ถ้าใช้ผิดวิธี "ข่าวสดหลาก&หลาย" รวบรวมคำถาม-ไขข้องใจปัญหาข้อกฎหมายที่พบบ่อยว่า การใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิดรูปแบบไหน ทำให้ต้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง!

การใช้ "ชื่อ" และ "นามแฝง"
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง โกหกสถานะและอายุได้อย่างง่ายดาย ในกรณีที่ใช้ "นามแฝง" ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ร้ายผู้อื่น
คงไม่มีปัญหา แต่ถ้านำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้ จนทำให้เกิดความเสียหายจะต้องรับผิด อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

การพนันออนไลน์
ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น "บัญชี ก." และ "บัญชี ข." กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสอง ที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง

ความผิดของ"เว็บมาสเตอร์"
"เว็บมาสเตอร์" คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ข้อความหรือโพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ต คนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่า เห็นข้อมูล ที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจลบข้อความทิ้งหรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐานร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น

"ลิงก์-ไฮเปอร์ลิงก์" ละเมิดลิขสิทธิ์
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบที่เรียกว่า"ไฮเปอร์ลิงก์" หรือ "ลิงก์" ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในสหรัฐอเมริกามีข้อถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างแพร่หลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราควรขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน

การดาวน์โหลดเพลง
"เพลง" ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้ การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดีอาญา สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย

การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาก๊อบปี้แจกผู้อื่น
เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้านำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน "ทำซ้ำ" ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่าให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย

อีเมล์ขยะ (สแปมมิ่ง)
ใครที่ใช้ "อีเมล์" ทุกวันร้อยทั้งร้อยคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับ "อีเมล์โฆษณาขยะ" ทั้งหลายที่ส่งมาได้ทุกวัน วันละหลายๆ ฉบับ ทั้งน่าเบื่อ น่ารำคาญ และเสียเวลาอ่าน เจ้าของสินค้าหรือผู้ส่งอีเมล์ขยะเหล่านี้ได้ข้อมูลที่อยู่อีเมล์ของเราผ่านวิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น ฝังโปรแกรม "คุกกี้" เอาไว้ตามเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดู จากนั้นก็ส่งคุกกี้เข้ามาคอยสอดส่องเก็บข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์และอีเมล์ของเราเพื่อส่งอีเมล์ขยะมาหา ในสหรัฐ ปัญหาอีเมล์ขยะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เร่งออกมาตรการควบคุม และเคยเกิดคดีดังขึ้นคดีหนึ่ง หลังจากบริษัท "เอโอแอล" ไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ลงมือฟ้องร้องบริษัทไซเบอร์โปรโมชั่น ฐานส่งอีเมล์โฆษณาขยะไปยังอีเมล์ของลูกค้าเอโอแอล นอกจากนั้น ยังมีอีกคดีที่ไอเอสพีฟ้องผู้ส่งอีเมล์ขยะฐานะ "บุกรุก" คอมพิวเตอร์ลูกค้า

ส่วนในไทยอาจเข้าข่ายผิดมาตรา 10 ในกฎหมายคอมพิวเตอร์ 2550 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

FONTSIZE
 
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 2
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 3
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 4
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 8
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 9
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่10

 เว็บไซต์หน่วยงาน 

 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
.
                           หน้าหลัก ศูนย์ข้อมูลทางการเงิน ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ระเบียบ           
  เกี่ยวกับเรา สารสนเทศทางการเงิน รายงานประจำปี พระราชบัญญัติ  
  ประวัติหน่วยงาน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดซื้อจัดจ้าง พระราชกฤษฎีกา  
  วิสัยทัศ พันธกิจ เครื่องมือทางการเงิน รวมความรู้งานสอบบัญชี กฎกระทรวง  
  โครงสร้างหน่วยงาน (โปรแกรมทางการเงิน) รวมความรู้ด้านไอที คำสั่ง  
  บุคลากร ระบบบริการข้อมูล บทความน่าสนใจ ผู้ชำระบัญชี  
  หน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศทางการเงิน เครือข่ายครูบัญชี ระเบียบ  
  ข้อมูลการติดต่อ   เว็บไซต์หน่วยงาน ประกาศต่าง ๆ  
      Intranet มติคณะรัฐมนตรี
 
       
       
  
 
สงวนลิขสิทธิ์ © 2018 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7
349 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ : 0-5312-1236 โทรสาร : 0-5312-1237 อีเมล์ : [email protected]