อากรแสตมป์



 

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร มีหลายท่านเข้าใจว่าเป็นแสตมป์ที่ปิดทับบนซอง จดหมาย ซึ่งก็คงเป็นเช่นนั้น เพราะอากรแสตมป์ไม่เหมือนภาษีอื่นๆ ที่จะบอกว่าเป็นภาษีอะไร แต่คนทั่วไปจะรู้จักอากรแสตมป์ก็ต่อเมื่อได้ขาย รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ส่วนตัว หรือได้ขายที่ดินของตนเองออกไป ซึ่งการขายทรัพย์สินที่กล่าวมาจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

การเสียอากรแสตมป์จะมีในธุรกรรมบางประเภทเท่านั้น หากท่านศึกษาประมวลรัษฎากร จะพบว่ามีการจัดเก็บอากรแสตมป์ตามลักษณะตราสารจำนวน 28 ประเภทเท่านั้น หลายท่านที่ประกอบธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับอากรแสตมป์ แต่ไปให้ความสำคัญกับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะซะมากกว่า เพราะจำนวนอากรแสตมป์ที่ต้องเสียไม่มากนัก


หากธุรกรรมที่ทำนั้นต้องเสียอากรแสตมป์ แต่ไม่ได้เสียอากรแสตมป์เพราะไม่ทราบหรือหลงลืมไป แน่นอน ไม่สามารถนำไปใช้อ้างกับเจ้าหน้าที่ได้ ท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นไร เพราะอากรแสตมป์คงไม่เยอะเท่าใด แต่อย่าลืมว่าบทลงโทษให้เสียเงินเพิ่มอากรแสตมป์นั้น สูงมาก หากเสียอากรแสตมป์ภายใน 90 วัน นับแต่พ้นกำหนดเวลาที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เงินเพิ่มจะคิด 2 เท่าของอากรแสตมป์ที่ต้องเสีย หากเสียอากรแสตมป์เมื่อพ้นกำหนดเวลาเกินกว่า 90 วัน จะต้องเสียเงินเพิ่ม 5 เท่า และถ้าหากถูกเจ้าหน้าที่ตรวจแล้วพบว่าไม่เสีย อากรแสตมป์ไว้ จะต้องเสียเงินเพิ่มสูงสุดถึง 6 เท่า คิดเอาเองก็แล้วกัน หากท่านต้องเสียอากรแสตมป์ 5 หมื่นบาท เงินเพิ่มคิด 2 เท่าก็เท่ากับ 1 แสนบาท ทีนี้ล่ะก็หน้ามืดแน่ๆ


อย่างไรก็ตาม เงินเพิ่มอากรแสตมป์นั้น สามารถขอลดลงมาให้เสียเพียงร้อยละ 25 ของเงินเพิ่มอากรแสตมป์ได้ โดยทำเป็นหนังสือขอลดเงินเพิ่มต่อสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ได้ จากหนักเป็นเบา ทำได้แค่นี้แหละ


ผู้ที่ต้องเสียอากรแสตมป์จะเห็นความสำคัญของอากรแสตมป์เป็นอย่างยิ่งยวดก็ต่อเมื่อมีคดีความเกิดขึ้น หากเอกสารหรือสัญญานั้นๆ ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่ไม่ได้เสียไว้ เอกสารหรือสัญญานั้นไม่สามารถนำไปรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ พูดง่ายๆ ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ไม่คุ้มเลยจริงๆ กับการไม่เสียอากรแสตมป์ให้ถูกต้อง


อากรแสตมป์ที่ต้องเสียนั้น จะต้องเป็นลักษณะตราสาร 28 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น สัญญาเช่าบ้าน สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาขายที่ดิน เป็นต้น หากเป็นธุรกรรมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่อย่างใด


การเสียอากรแสตมป์ ท่านอาจจะซื้ออากรแสตมป์มาปิดทับในสัญญา ตราสาร หรือสามารถชำระเป็นตัวเงินได้ หากกฎหมายไม่ได้ระบุให้ชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน แต่ถ้ากฎหมายระบุให้ตราสารหรือสัญญานั้นต้องชำระเป็นตัวเงิน ท่านจะต้องไปชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ จะใช้วิธีซื้ออากรแสตมป์มาปิดทับในสัญญาหรือตราสารไม่ได้


การชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือจะซื้ออากรแสตมป์ไปปิดทับบนตราสาร จะต้องชำระหรือซื้ออากรแสตมป์ด้วยเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค


 อากรแสตมป์มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษีอื่นๆ ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดีกว่าตามแก้ปัญหาทีหลัง โดยเฉพาะกรณีที่ต้องใช้เอกสารหรือสัญญาเป็นหลักฐานในคดีความที่ต้องฟ้องร้องคู่กรณี หากไม่ชำระอากรแสตมป์แล้วละก็ จบเห่แน่นอน  
 

FONTSIZE
 
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 2
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 3
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 4
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 8
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 9
 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่10

 เว็บไซต์หน่วยงาน 

 
 
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
.
                           หน้าหลัก ศูนย์ข้อมูลทางการเงิน ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ระเบียบ           
  เกี่ยวกับเรา สารสนเทศทางการเงิน รายงานประจำปี พระราชบัญญัติ  
  ประวัติหน่วยงาน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดซื้อจัดจ้าง พระราชกฤษฎีกา  
  วิสัยทัศ พันธกิจ เครื่องมือทางการเงิน รวมความรู้งานสอบบัญชี กฎกระทรวง  
  โครงสร้างหน่วยงาน (โปรแกรมทางการเงิน) รวมความรู้ด้านไอที คำสั่ง  
  บุคลากร ระบบบริการข้อมูล บทความน่าสนใจ ผู้ชำระบัญชี  
  หน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศทางการเงิน เครือข่ายครูบัญชี ระเบียบ  
  ข้อมูลการติดต่อ   เว็บไซต์หน่วยงาน ประกาศต่าง ๆ  
      Intranet มติคณะรัฐมนตรี
 
       
       
  
 
สงวนลิขสิทธิ์ © 2018 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7
349 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ : 0-5312-1236 โทรสาร : 0-5312-1237 อีเมล์ : [email protected]